#สิทธิของเจ้าของทรัพย์สิน
แม้ที่ดินพิพาทเป็นส่วนหนึ่งของถนนในหมู่บ้านที่จำเลยเป็นผู้ดำเนินการจัดสรรที่ดินและตกอยู่ในภาระจำยอมเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินจัดสรรตามประกาศของคณะปฎิวัติฉบับที่ ๒๘๖ ก็ตาม แต่ภาระจำยอมนั้นเพียงแต่ทำให้เจ้าของภารยทรัพย์ต้องยอมรับกรรมบางอย่างซึ่งกระทบถึงทรัพย์สิน
ของตนหรือต้องงดเว้นการใช้สิทธิบางอย่างอันมีอยู่ในกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินนั้นเพื่อประโยชน์แก่อสังหาริมทรัพย์อื่น และห้ามเจ้าของภารยทรัพย์ประกอบกรรมใด ๆ อันจะเป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภาระจำยอมลดไป หรือเสื่อมความสะดวกตาม ป.พ.พ. มาตรา ๑๓๘๗ และ ๑๓๘๙ เท่านั้น
เจ้าของภารยทรัพย์ยังคงเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ ทั้งไม่มีบทกฎหมายใดห้ามเจ้าของภารยทรัพย์ขายหรือจำหน่ายจ่ายโอนกรรมสิทธิ์แต่อย่างใดจำเลยในฐานะเจ้าของที่ดินพิพาทจึงมีสิทธิขายที่ดินพิพาทได้ สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทจึงไม่เป็นโมฆะ จำเลยจึงต้องโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์
(คำพิพากษาฎีกาที่ ๒๐๕๘/๒๕๔๙)
⚖️ประมวลกฎหมายแพ่งเละพาณิชย์
มาตรา ๑๓๓๖ ภายในบังคับแห่งกฎหมาย เจ้าของทรัพย์สินมีสิทธิใช้สอยและจำหน่ายทรัพย์สินของตนและได้ซึ่งดอกผลแห่งทรัพย์สินนั้น กับทั้งมีสิทธิติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตนจากบุคคลผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ และมีสิทธิขัดขวางมิให้ผู้อื่นสอดเข้าเกี่ยวข้องกับทรัพย์สินนั้นโดยมิชอบด้วยกฎหมาย
- - - - - - - - - - -
#สำนักงานกฎหมายทนายใหญ่
#ทนายความ #ทนายความมืออาชีพ
#ทนายความคดีแพ่ง #ทนายความคดีอาญา
#ทนายความประจำบริษัท
#ทนายความทุกอรรถคดี
#ทนายความเพื่อประชาชน
- - - - - - - - - -
ติดต่อทนายใหญ่
Tel. : 089-810-3848 , 081-859-5978
E-mail : Lawyeryai.t@gmail.com
ที่อยู่ : 8/48 ม.18 ต.ลำลูกกา อ.ลำลูกกา จ.ปทุมธานี
Line id : yai0818 คลิกลิ้งค์ :https://lin.ee/lAWV1wU
เว็บไซต์ : www.lawyeryai.com
Comments