top of page

ผู้จัดการมรดก

รูปภาพนักเขียน: สํานักงานกฎหมาย ทนายใหญ่สํานักงานกฎหมาย ทนายใหญ่

#ความรู้กฎหมาย #ว่าด้วยเรื่อง

#มรดก #ผู้จัดการมรดก


▫️#ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

ลักษณะ ๔ วิธีจัดการและปันทรัพย์มรดก

หมวด ๑ ผู้จัดการมรดก

-------------------------

               มาตรา ๑๗๑๑  ผู้จัดการมรดกนั้นรวมตลอดทั้งบุคคลที่ตั้งขึ้นโดยพินัยกรรมหรือโดยคำสั่งศาล


               มาตรา ๑๗๑๒  ผู้จัดการมรดกโดยพินัยกรรมอาจตั้งขึ้นได้

               (๑) โดยผู้ทำพินัยกรรมเอง

               (๒) โดยบุคคลซึ่งระบุไว้ในพินัยกรรม ให้เป็นผู้ตั้ง


               มาตรา ๑๗๑๓  ทายาทหรือผู้มีส่วนได้เสียหรือพนักงานอัยการจะร้องต่อศาลขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกก็ได้ ในกรณีดังต่อไปนี้

               (๑) เมื่อเจ้ามรดกตาย ทายาทโดยธรรมหรือผู้รับพินัยกรรมได้สูญหายไป หรืออยู่นอกราชอาณาเขต หรือเป็นผู้เยาว์

               (๒) เมื่อผู้จัดการมรดกหรือทายาทไม่สามารถ หรือไม่เต็มใจที่จะจัดการ หรือมีเหตุขัดข้องในการจัดการ หรือในการแบ่งปันมรดก

               (๓) เมื่อข้อกำหนดพินัยกรรมซึ่งตั้งผู้จัดการมรดกไว้ไม่มีผลบังคับได้ด้วยประการใด ๆ

               การตั้งผู้จัดการมรดกนั้น ถ้ามีข้อกำหนดพินัยกรรมก็ให้ศาลตั้งตามข้อกำหนดพินัยกรรม และถ้าไม่มีข้อกำหนดพินัยกรรม ก็ให้ศาลตั้งเพื่อประโยชน์แก่กองมรดกตามพฤติการณ์และโดยคำนึงถึงเจตนาของเจ้ามรดก แล้วแต่ศาลจะเห็นสมควร


               มาตรา ๑๗๑๔  เมื่อศาลตั้งให้ผู้ใดเป็นผู้จัดการมรดกเพื่อการใดโดยเฉพาะ ผู้นั้นไม่จำต้องทำบัญชีทรัพย์มรดก เว้นแต่จะจำเป็นเพื่อการนั้น หรือศาลสั่งให้ทำ


               มาตรา ๑๗๑๕  ผู้ทำพินัยกรรมจะตั้งบุคคลคนเดียวหรือหลายคนให้เป็นผู้จัดการมรดกก็ได้

               เว้นแต่จะมีข้อกำหนดไว้ในพินัยกรรมเป็นอย่างอื่น ถ้ามีผู้จัดการมรดกหลายคน แต่ผู้จัดการเหล่านั้นบางคนไม่สามารถ หรือไม่เต็มใจที่จะจัดการ และยังมีผู้จัดการมรดกเหลืออยู่แต่คนเดียว ผู้นั้นมีสิทธิที่จะจัดการมรดกได้โดยลำพัง แต่ถ้ามีผู้จัดการมรดกเหลืออยู่หลายคน ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า ผู้จัดการเหล่านั้นแต่ละคนจะจัดการโดยลำพังไม่ได้


               มาตรา ๑๗๑๖  หน้าที่ผู้จัดการมรดกที่ศาลตั้ง ให้เริ่มนับแต่วันที่ได้ฟังหรือถือว่าได้ฟังคำสั่งศาลแล้ว


               มาตรา ๑๗๑๗  ในเวลาใด ๆ ภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่เจ้ามรดกตาย แต่ต้องเป็นเวลาภายหลังที่เจ้ามรดกตายแล้วสิบห้าวัน ทายาทหรือผู้มีส่วนได้เสียคนใดคนหนึ่ง จะแจ้งความถามไปยังผู้ที่ถูกตั้งเป็นผู้จัดการมรดกโดยพินัยกรรมว่าจะรับเป็นผู้จัดการมรดกหรือไม่ก็ได้

               ถ้าผู้ที่ได้รับแจ้งความมิได้ตอบรับเป็นผู้จัดการมรดกภายในหนึ่งเดือนนับแต่วันรับแจ้งความนั้น ให้ถือว่าผู้นั้นปฏิเสธ แต่การรับเป็นผู้จัดการมรดกนั้น จะทำภายหลังหนึ่งปีนับแต่วันที่เจ้ามรดกตายไม่ได้ เว้นแต่ศาลจะอนุญาต


#ความรู้กฎหมาย #สำนักงานกฎหมายทนายใหญ่


- - - - - - - - - - -

#สำนักงานกฎหมายทนายใหญ่

#ทนายความทุกอรรถคดี 

#ทนายความเพื่อประชาชน

#บังคับคดี #คดีมรดก

- - - - - - - - - -

ติดต่อทนายใหญ่

Tel. : 089-810-3848 , 081-859-5978

ที่อยู่ : 8/48 ม.18 ต.ลำลูกกา อ.ลำลูกกา จ.ปทุมธานี 

Line id : yai0818 คลิกลิ้งค์ :https://lin.ee/lAWV1wU

เว็บไซต์ : www.lawyeryai.com


 
 
 

Comentarios


bottom of page